รีไฟแนนซ์บ้านและที่อยู่อาศัย ต้องทำอย่างไร? 

 

       สำหรับหลาย ๆ คน การมีบ้านเป็นของตัวเองนับเป็นความฝันสูงสุดของชีวิต แต่ก็อย่างที่รู้กันว่าการจะซื้อบ้านซักหลังหนึ่งนั้นหมายถึงการแบกรับหนี้ก้อนใหญ่ โดยเฉพาะในยุคที่เศรษฐกิจฝืดเคืองแบบทุกวันนี้ บางคนจำเป็นต้องออมเงินไว้หมุนเป็นค่าใช้จ่าย หรือนำไปต่อยอดธุรกิจที่ทำอยู่ ดังนั้นการจะหาเงินมาผ่อนบ้านในแต่ละเดือนอาจจะไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่คิด 

       อย่างไรก็ตามยังมียุทธวิธีทางการเงินที่จะช่วยคุณลดภาระและค่าใช้จ่ายในการผ่อนบ้านได้ง่าย ๆ โดยวิธีที่ว่าก็คือ “การรีไฟแนนซ์บ้าน” ซึ่งถ้าหากคุณไม่เคยรู้จักคำว่ารีไฟแนนซ์และสงสัยว่าการรีไฟแนนซ์บ้านคืออะไร วันนี้เราก็จะมาตอบข้อสงสัยให้กับทุกท่านกัน 

รีไฟแนนซ์บ้านคืออะไร?

       การรีไฟแนนซ์บ้านคืออะไร? ถ้าจะพูดให้เข้าใจง่ายที่สุดก็คือ การขอสินเชื่อบ้านกับสถาบันการเงินที่ใหม่(หรือที่เดิม) เพื่อนำมาปิดหนี้บ้านเดิมที่คุณกำลังผ่อนอยู่ ซึ่งการรีไฟแนนซ์จะถือเป็นการช่วยปรับโครงสร้างของหนี้สิน เพราะสถาบันการเงินมักจะมีการออกโปรโมชั่นดี ๆ เพื่อดึงดูดให้คนมารีไฟแนนซ์กับองค์กรของตัวเอง ทำให้ผู้ผ่อนได้ประโยชน์ทั้งการลดดอกเบี้ยบ้านให้ต่ำลง มีระยะเวลาผ่อนนานขึ้น และช่วยให้ครอบครัวมีสภาพคล่องทางการเงินดีขึ้นกว่าเดิม โดยเราจะเรียกธุรกรรมในส่วนนี้ว่าการรีไฟแนนซ์บ้าน

ทำไมคนส่วนใหญ่ชอบรีไฟแนนซ์บ้าน?

       เมื่อเรารู้กันแล้วว่าการรีไฟแนนซ์บ้านคืออะไร คำถามต่อมาที่มักจะเจอก็คือทำไมคนถึงชอบรีไฟแนนซ์บ้าน ซึ่งแน่นอนว่าเหตุผลหลักในการรีไฟแนนซ์บ้านของคนส่วนใหญ่ก็คือ การลดดอกเบี้ยค่าผ่อนบ้าน โดยการรีไฟแนนซ์จะช่วยทั้งในเรื่องของดอกเบี้ยลอยตัวหลังการผ่อนปีที่ 3 และยังมีเรื่องของโปรโมชั่นต่าง ๆ ที่สถาบันการเงินออกมาเพื่อดึงดูดลูกค้า ซึ่งรวม ๆ แล้วก็จะเป็นการลดภาระที่ผู้ผ่อนต้องแบกไปได้มาก เพราะแบบนี้จึงไม่แปลกเลยที่การรีไฟแนนซ์จะเป็นที่นิยมสำหรับคนส่วนใหญ่

รีไฟแนนซ์บ้านสามารถทำได้ตอนไหน?

       โดยปกติแล้วเมื่อเราทำสัญญาผ่อนบ้านกับธนาคารมักจะมีข้อกำหนดในสัญญาว่าต้องรอเวลา 3 ปี จึงจะสามารถทำการรีไฟแนนซ์ได้

รีไฟแนนซ์บ้านมีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร?

              เมื่อได้รู้ว่าการรีไฟแนนซ์บ้านคืออะไรแล้ว คุณก็ควรจะรู้ข้อดี-ข้อเสียของการ

รีไฟแนนซ์ด้วย ดังนี้

ข้อดีของการรีไฟแนนซ์บ้าน

       – ได้รับข้อเสนอที่ดีขึ้นหรือดีพอ ๆ กับของเดิมในทุกครั้งที่รีไฟแนนซ์

       – เป็นการเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน

       – แทบไม่เสียผลประโยชน์อะไรเลย

ข้อเสียของการรีไฟแนนซ์บ้าน

       – หากไม่ศึกษาสัญญาเก่าและสัญญาใหม่ให้ละเอียด อาจเกิดความผิดพลาด

       – บางสัญญาอาจยืดระยะเวลาผ่อนจนนานเกินไป

       – มีค่าใช้จ่ายในการขอยื่นกู้สินเชื่อใหม่

 

ขั้นตอนการรีไฟแนนซ์บ้านมีอะไรบ้าง?

       สำหรับขั้นตอนของการรีไฟแนนซ์บ้านจะมีด้วยกันทั้งหมด 4 ขั้นตอน ได้แก่

       ขั้นตอนที่ 1 : การตรวจสอบสัญญาเดิม 

       เมื่อเรามีความคิดอยากจะรีไฟแนนซ์บ้าน สิ่งแรกทีเราต้องทำเลยก็คือการตรวจสอบสัญญากู้เดิมที่เคยทำไว้กับธนาคาร โดยจะต้องทำการศึกษาให้ละเอียดถี่ถ้วนทั้งเรื่องของรายละเอียดสัญญา จำนวนเงินที่ยังผ่อนไม่ครบ รวมถึงอัตราดอกเบี้ยและระยะเวลาการผ่อน ทั้งหมดนี้ก็เพื่อให้แน่ใจว่าการรีไฟแนนซ์บ้านในครั้งนี้มีความคุ้มค่ามากกว่าการผ่อนกับธนาคารเดิม

 

       ขั้นตอนที่ 2 : เลือกธนาคารใหม่ 

       เมื่อทำการศึกษา ขั้นตอนต่อมาก็คือการเลือกธนาคารแห่งใหม่ที่คุณจะทำการรีไฟแนนซ์ด้วย โดยแนะนำว่าควรจะทำการศึกษาข้อมูลของธนาคารหลาย ๆ ที่ แล้วนำจุดเด่นจุดด้อยของแต่ละธนาคารมาเปรียบเทียบกัน ทั้งในเรื่องของอัตราดอกเบี้ย ระยะเวลาในการผ่อน โปรโมชั่น รวมถึงเงื่อนไขอื่น ๆ ด้วย 

       ขั้นตอนที่ 3 : เตรียมเอกสาร 

       หลังจากที่เราตรวจสอบข้อมูลของสัญญากู้บ้านเดิมอย่างถี่ถ้วน และเลือกธนาคารใหม่ที่ต้องการรีไฟแนนซ์ได้แล้ว ขั้นตอนต่อมาก็คือการเตรียมเอกสาร ซึ่งเอกสารที่ต้องใช้จะแบ่งเป็น 3 ส่วน ดังนี้

       1. เอกสารแสดงตัวบุคคล 

                     – สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 

                     – สำเนาทะเบียนบ้าน 

                     – สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนคู่สมรส (ถ้ามี) 

                     – สำเนาทะเบียนบ้านคู่สมรส (ถ้ามี) 

2. เอกสารทางการเงิน 

              สำหรับผู้ที่มีรายได้ประจำ 

                     – สลิปเงินเดือนย้อนหลัง 3-6 เดือน 

                     – หนังสือรับรองการทำงาน 

                     – สำเนารับรองการหักภาษี (50 ทวิ) 

              สำหรับผู้ที่ประกอบธุรกิจส่วนตัว 

                     – สำเนารับรองการจดทะเบียนการค้า 

                     – สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น 

                     – สำเนารายการเดินบัญชีย้อนหลัง 6 เดือน 

                     – สำเนาแบบแสดงภาษีซื้อขาย ภ.พ.30  

3. เอกสารหลักประกันการรีไฟแนนซ์บ้าน 

             – สำเนาโฉนดที่ดิน 

             – หนังสือกรรมสิทธิ์ หรือเอกสารที่เกี่ยวข้องที่บ่งชี้ถึงหลักประกัน 

             – สำเนาสัญญาการซื้อขายหรือให้ที่ดิน ทด.13 หรือ 14 หรือสัญญาซื้อขายห้องชุด

             – สำเนาสัญญากู้จากธนาคารเดิม 

             – สำเนาสัญญาจำนองที่ดิน 

             – สำเนาใบเสร็จแสดงธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับบ้าน

ขั้นตอนที่ 4 : ดำเนินการยื่นขอรีไฟแนนซ์ และทำสัญญากับธนาคาร

       หลังจากเตรียมเอกสารทุกอย่างพร้อมก็ถึงเวลาดำเนินการยื่นขอรีไฟแนนซ์ และทำสัญญากับธนาคารที่คุณเลือกเอาไว้ โดยข้อควรระวังก็คือ คุณจะต้องอ่านรายละเอียดสัญญาใหม่ให้ครบถ้วน เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น เพราะถ้าหากทำสัญญาไปแล้วจะไม่สามารถขอแก้ไขตัวสัญญาทีหลังได้ สุดท้ายนี้เมื่อคุณรู้แล้วว่าขั้นตอนทั้งหมดของการรีไฟแนนซ์บ้านคืออะไรบ้าง ก็จะช่วยลดข้อผิดพลาดระหว่างการดำเนินการได้นั่นเอง

ข้อควรระวังก่อนทำรีไฟแนนซ์บ้าน

       เมื่อคุณรู้แล้วว่าการรีไฟแนนซ์บ้านคืออะไร สิ่งสุดท้ายที่อยากให้จำก็คือข้อควรระวังก่อนทำการรีไฟแนนซ์ โดยอย่างที่กล่าวไปว่าการที่เราจะสามารถทำการรีไฟแนนซ์บ้านได้นั้น เราจำเป็นต้องรอให้สัญญากับธนาคารเดิมหมดอายุลงเสียก่อน หรือในบางกรณีผู้กู้ต้องการขอรีไฟแนนซ์บ้านก่อนหมดอายุสัญญาจะต้องเสียค่าธรรมเนียมเล็กน้อยตามที่ระบุในสัญญา ดังนั้นก่อนที่จะทำการรีไฟแนนซ์จึงควรอ่านรายละเอียดเงื่อนไขของสัญญาการกู้อย่างละเอียดถี่ถ้วนที่สุดเท่าที่จะทำได้ 

และสำหรับใครที่มีบ้านหรืออสังหาริมทรัพย์ที่อยากจะเปลี่ยนเป็นทุนหรือเพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงินอย่าลืมนำทรัพย์ของคุณมาเสนอให้กับเราได้ที่ www.kaipoob.com ของเราได้เลย! 

ที่อยู่

บริษัท 999 ดีเวลลอปเม้นท์ เชียงใหม่ จำกัด 11/38 หมู่ 3 ตำบลหนองหอย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50000

ติดตามเรา
All rights reserved - kaipoob.com - 2021