ระบบภาษีใหม่ ทำไมที่ดินเปล่ายังต้องจ่ายภาษีแพง ?

                

           ก่อนหน้านี้ประเทศไทยมีระบบการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เรียกว่า “ภาษีบำรุงท้องที่” และ “ภาษีโรงเรือนและที่ดิน” เป็นภาษีที่มีการเรียกเก็บจากการถือครองที่ดินหรือการสร้างสิ่งปลูกสร้างบนที่ดิน โดย “ภาษีบำรุงท้องที่” คือ ภาษีที่บุคคลหรือนิติบุคคลที่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ไม่ว่าจะทำประโยชน์หรือไม่ทำประโยชน์ต่อที่ดินนั้นก็ตาม ก็ต้องเสียภาษีให้กับท้องที่นั้น แต่ถ้าบนที่ดินมีโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างหรือเป็นที่ดินที่ต้องใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้าง ก็ไม่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ แต่จะไปเสีย “ภาษีโรงเรือนและที่ดิน” แทน เว้นแต่ถ้าเป็นการใช้เพื่ออยู่อาศัยจะเสียเป็นภาษีบำรุงท้องที่

            ซึ่งระบบนี้เป็นระบบที่ไม่เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป อีกทั้งมีปัญหา ฐานภาษีซ้ำซ้อนกับภาษีเงินได้, ปัญหาอัตราภาษีโรงเรือนและที่ดินที่สูงเกินไป, ปัญหาฐานภาษีบำรุงท้องที่ที่ไม่เป็นปัจจุบันทั้งยังมีลักษณะถดถอย ทำให้เก็บภาษาได้ต่ำกว่าความเป็นจริง, ปัญหาความเหลื่อมล้ำของการจัดเก็บภาษีระหว่างคนรวยและคนจน ฯลฯ ด้วยเหตุผลเหล่านี้จึงนำไปสู้การปฏิรูปโครงสร้างระบบภาษีให้ทันสมัยขึ้น “ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง” ถูกนำมาใช้แทนที่ “ภาษีบำรุงท้องที่” และ “ภาษีโรงเรือนและที่ดิน” ที่ล้าสมัย

            ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนี้จะทำการจัดเก็บภาษีตามมูลค่าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่มีอยู่ในครอบครอง ซึ่งจะทำการจัดเก็บเป็นรายปีคำนวณตามประเภทของการใช้ประโยชน์ โดยแบ่งทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่

      1. ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างเพื่อการเกษตรกรรม เช่น ทำนา ทำไร่ การทำปศุสัตว์ หรือสร้างสิ่งปลูกสร้างไว้สำหรับเลี้ยงสัตว์ (ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด) จะเสียภาษีตามสัดส่วนการใช้ประโยชน์ มีอัตราเพดานจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างอยู่ที่ 0.15%
      1. ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างเพื่อที่อยู่อาศัย ได้แก่ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่เจ้าของใช้อยู่อาศัยเอง บ้านหลังที่ 2 ที่ให้ญาติพี่น้องอยู่อาศัย, สิ่งปลูกสร้างที่ให้เช่าเพื่ออยู่อาศัยแบบรายเดือน (อาทิ บ้านเช่า อพาร์ทเม้นท์ หอพัก คอนโดให้เช่า เป็นต้น) และโฮมสเตย์ จะเสียภาษีในอัตราที่อยู่อาศัย มีอัตราเพดานจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างอยู่ที่ 0.3%

 

 

  1. ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ ที่ไม่ใช่เกษตรกรรมและอยู่อาศัย แต่เป็นการใช้ประโยชน์อื่นๆ เช่น พาณิชยกรรม, อุตสาหกรรม, อาคารสำนักงาน, โรงแรม, ร้านอาหาร ฯลฯ มีอัตราเพดานจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างอยู่ที่ 1.2%
  1. ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ทิ้งว่างเปล่า หรือไม่ได้ทำประโยชน์ตามสมควรแก่สภาพ คือ ที่ดินที่โดยสภาพแล้วสามารถนำมาใช้ทำประโยชน์ในด้านต่างๆ หรือประกอบเกษตรกรรมได้ แต่ตลอดปีที่ผ่านมาเจ้าของไม่ได้มีการนำที่ดินมาพัฒนาหรือใช้ประโยชน์ จะต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในอัตรารกร้างว่างเปล่า 0.3% และหากเสียภาษีต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเวลา 3 ปี ในปีที่ 4 จะต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นอีก 0.3% และจะเสียเพิ่มขึ้นอีก 0.3% ทุกๆ 3 ปี มีอัตราเพดานจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างอยู่ที่ 3%

           โดยที่ดินและสิ่งปลูกสร้างบางประเภทจะได้รับการยกเว้นการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเช่น ทรัพย์สินของรัฐที่ใช้ในกิจการของรัฐหรือใช้ในกิจการสาธารณะ ที่ไม่ได้แสวงหาผลประโยชน์ และทรัพย์สินที่เป็นที่ทำการขององค์การสหประชาชาติ สถานทูต สถานกงสุล สภากาชาดไทย วัด มัสยิด โบสถ์ ศาลเจ้า เป็นต้น

           เราจะเห็นได้ว่าอัตราเพดาจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ทิ้งว่างเปล่าจะสูงถึง 3% ก็เพื่อผลักดันให้มีการนำที่ดินไปพัฒนาใช้ทำประโยชน์ ซึ่งอัตราภาษีใหม่นี้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ที่ถือครองที่ดินเป็นจำนวนมากหรือผู้ที่รับซื้อที่ดิน หรือ รับซื้ออสังหาริมทรัพย์เพื่อการเก็งกำไร ยกตัวอย่างเช่น ผู้ถือครองที่ดินที่มีจำนวนมากในต่างจังหวัด หากไม่อยากเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ก็จะต้องนำมาทำเกษตรกรรม หรือให้เช่าเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ซึ่งช่วยลดความเหลื่อมล้ำในสังคม

           หากเจ้าของที่ดินคิดจะทำการเกษตรเพื่อไม่ให้ตนเองต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างก็จะต้องคำนึงถึงต้นทุนเพราะกฎหมายมีการทำนิยามหรือคำจำกัดความ “ที่ดินเกษตรกรรม ว่าขั้นต่ำจะต้องปลูกพืชกี่ต้น พันธุ์อะไรบ้าง เป็นต้น ซึ่งต้นทุนนี้ก็อาจจะได้ไม่คุ้มเสีย ทำให้หลายคนเริ่มขยับปล่อยที่ดินให้เช่าเพื่อทำการเกษตร หรือปล่อยเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอยู่อาศัย หรือใครที่ลังเลใจ ไม่อยากยุ่งยากก็เลือกที่จะขายที่ดินเปล่าให้คนอื่นนำไปพัฒนาต่อ แทนการมีภาระจำยอมในการเสียภาษี ซึ่งก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยกระตุ้นให้มีการนำที่ดินว่างเปล่าไปใช้ให้เกิดประโยชน์ตามเป้าหมายหลักของการผลักดันการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภาษีแบบใหม่ที่เรียกว่า “ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง”

     และสำหรับใครที่มีอสังหาริมทรัพย์ไม่ว่าจะเป็นบ้าน คอนโด ทาวน์เฮาส์หรือที่ดินอยู่ในเชียงใหม่ และอยากเปลี่ยนทรัพย์ที่คุณมีให้เป็นเงินทุนหรือเงินก้อนเสริมสภาพคล่องทางการเงิน สามารถนำทรัพย์ของคุณมาเสนอขายให้กับเราได้ที่เว็บไซต์ www.kaipoob.com ได้เลย! 

ที่อยู่

บริษัท 999 ดีเวลลอปเม้นท์ เชียงใหม่ จำกัด 11/38 หมู่ 3 ตำบลหนองหอย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50000

ติดตามเรา
All rights reserved - kaipoob.com - 2021